ระบบสารสนเทศงานทดสอบวัสดุ –> Link

ศูนย์ทดสอบวัสดุด้านวิศวกรรมโยธา
(Center of Materials Testing in Civil Engineering)
ศูนย์ทดสอบวัสดุด้านวิศวกรรมโยธา จัดตั้งขึ้นตามประกาศมหาวิทยาลัยบูรพาที่ ๑๐๔๘/๒๕๖๔ เรื่อง การบริหารโครงการศูนย์ทดสอบวัสดุด้านวิศวกรรมโยธา โดยมีการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
- เพื่อเป็นศูนย์กลางประสานเชื่อมโยงแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) สำหรับการให้บริการทดสอบทั้งในห้องปฏิบัติการ (Lab Tests) การทดสอบในสนาม (In-situ Tests) และงานบริการวิชาการที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ให้กับภาครัฐหรือเอกชน
- เพื่อให้บริการวิชาการตามขอบเขตของกฎกระทรวง กำหนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๐ และข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมโยธา พ.ศ. ๒๕๕๑
- เพื่อเป็นศูนย์ประสานงานเชื่อมโยงการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร ในการบ่มเพาะเทคโนโลยี หรือถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่การดำเนินการทางธุรกิจด้านวิศวกรรมโยธาของผู้ประกอบการ
- เพื่อเป็นการเชื่อมโยงการดำเนินงานระหว่างเครือข่ายศูนย์การทดสอบวัสดุด้านวิศวกรรมโยธาในภาคตะวันออก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน
- อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ หรือมหาวิทยาลัย
เครื่องมือ และอุปกรณ์ทดสอบต่างๆ

- Universal Testing Machine (UTM) ขนาด 150 ตัน
- เครื่องทดสอบกำลังอัดของคอนกรีต ขนาด 300 ตัน
- รางน้ำ (Large Flow Channel หรือ Flume) ขนาด 0.60 X 0.80 X 16 เมตร
- เครื่องทดสอบดินแบบแรงอัดสามแกนแบบพลศาสตร์ (Dynamics Triaxial Testing Machine)
- กล้องสำรวจ (Total Station) สามารถวัดระยะได้ 2,000 เมตร ความละเอียด 1 ฟิลิปดา
- เครื่องทดสอบมาร์แชล (Marshall Testing Machine) ขนาด 30 ถึง 50 ตัน
ชนิดของการให้บริการ


- หมวด Concrete and Mortar Testing
- แรงกด (Compressive Strength)
- แรงดึงแบบผ่าซีก (Splitting Tensile Strength)
- แรงดัด (Modulus Of Rupture)
- กำลังอัดคอนกรีตโดยใช้ Schmidt Hammer
- Calibration ได้แก่ Hydraulic Hand-Pump, Compression Machine และ Proving Ring
- น้ำหนักบรรทุกใช้งานโครงสร้างเหล็กถอดประกอบ
- หมวด Cement Testing
- Normal Consistency
- Initial Setting Time and Final Setting Time
- ความละเอียดโดยวิธีผ่านตะแกรง (Fineness Test)
- ความละเอียดโดย Blaine Air Permeability Test
- Moisture Content
- Specific Gravity
- Compressive Strength of Mortar
- Tensile Strength of Mortar
- หมวด Steel Testing
- แรงดึง (Tension Test)
- เหล็กเส้นกลมหรือเหล็กข้ออ้อย
- แผ่นเหล็กCoupler or Weld
- แรงอัด (Compression Test)
- แรงดัด (Modulus of Rupture Test)
- แรงบิด (Torsion Test)
- แรงดึงของ High Tensile Wires และ PC Strands
- หมวด Timber Testing
- แรงอัด (Compression Strength)
- แรงดึง (Tensile Strength)
- แรงดัด (Modulus of Rupture)
- แรงกระแทก (Impact Test)
- หมวด Soil Testing
- Physical Properties
- Permeabilty
- Compaction
- California Bearing Ratio (Laboratory CBR)
- Consolidation
- Direct Shear
- Triaxial
- Field Density
- Pin Hole
- Standard Penetration Test (SPT)
- Plate Load Test
- Pile Load Test
- หมวด Aggregate Testing
- สารอินทรีย์ในทราย (Organic Impurity Test)
- ปริมาณดินเหนียว (Clay Content)
- ดินเหนียวในหิน (Clay Lump) และการทดสอบหาสัดส่วนขนาดคละหิน
- การทดสอบหาสัดส่วนขนาดคละหินหรือทราย (Gradation) โดยการร่อนผ่านตะแกรง
- การทดสอบหาความชื้นของหินหรือทราย (Moisture Content)
- การทดสอบหาความถ่วงจำเพาะของหินหรือทราย (Specific Gravity)
- การทดสอบหาค่าการดูดซึม (Absorption Capacity)
- การทดสอบหาการสึกกร่อนของหิน (Los Angeles Abrasion Test)
- การทดสอบหาหน่วยน้ำหนักรวมของหินและทราย (Bulk Unit Weight)
- Soundness Test
- Flakiness Index
- Elongation Index

ขั้นตอนการติดต่อ
- กรอกคำขอรับบริการทดสอบวัสดุ
ขอแบบคำขอรับบริการทดสอบวัสดุจากเจ้าหน้าที่ภาควิชาวิศวกรรมโยธา กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน (ดูตามตัวอย่าง) โดยเฉพาะชื่อผู้ขอรับบริการ หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ ชื่อโครงการ สถานที่ตั้งโครงการ เป็นต้น จากนั้นเจ้าหน้าที่ภาควิชาวิศวกรรมโยธาจะแจ้งอัตราค่าบริการทดสอบวัสดุให้ทราบ (ตามอัตราค่าทดสอบ) - ชำระค่าบริการด้วยตนเอง
ชำระค่าบริการทดสอบวัสดุกับเจ้าหน้าที่การเงินคณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่สำนักงานเลขานุการคณะวิศวกรรมศาสตร์ ชั้น 3 อาคารเกษม จาติกวณิช ด้วยตนเอง แล้วนำใบเสร็จมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ภาควิชาวิศวกรรมโยธา เพื่อทำการบันทึก โดยผู้ขอรับบริการจะได้รับสำเนาคำขอรับบริการทดสอบวัสดุเก็บไว้เป็น
หลักฐาน - รับรายงานผลทดสอบ สามารถมารับผลรายงานผลทดสอบภายหลังจากที่ยื่นขอรับบริการแล้วประมาณ 5-10 วันทำการ ทั้งนี้ขอสงวนสิทธิ์การเปลี่ยนแปลงโดยไม่แจ้งล่วงหน้า (ขึ้นอยู่กับประเภทการทดสอบ และจำนวนผู้ขอรับบริการในขณะนั้น) โดยสามารถโทรมาสอบถามก่อนมารับผลได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 0-3810-2222 ต่อ 3343 โทรศัพท์มือถือ 09-0380-4704 ในวันและเวลาทำการ ให้นำสำเนาใบคำขอรับบริการและใบเสร็จมาแสดงในวันที่รับผลทดสอบด้วย
อัตราค่าบริการทดสอบ
- อัตราค่าบริการทดสอบ ปรับปรุง ณ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2564 (ดาวน์โหลด)
ติดต่อหน่วยทดสอบวัสดุและบริการวิชาการทางวิศวกรรมโยธา
- ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตบางแสน ชลบุรี
- หมายเลขโทรศัพท์ 0-3810-2222 ต่อ 3343 โทรศัพท์มือถือ 09-0380-4704
- เปิดให้บริการ วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08:30 – 16:30 น.
